นายกฯ ออกมาแถลงหลังการประชุม ศบค. ว่าทางรัฐบาล ยกเลิกคำสั่งห้ามนั่งกิน หลัง 1 ทุ่ม ไปก่อน และจะอนุญาตให้เปิดได้ถึง 3 ทุ่มภายใต้มาตรการความรักษาความสะอาด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้แถลง หลังการประชุม ศบค. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่เมื่อช่วงเวลาประมาณ 14.30 น. ที่ผ่านมา
พลเอก ประยุทธ์ ระบุว่าทางการได้สั่งยกเลิกคำสั่งของ กทม.
ที่ ห้ามนั่งกินภายในร้านหลัง 19.00 น. และ เลื่อนให้สามารถเปิดให้บริการได้ถึง 21.00 น. ภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ การจำกัดจำนวนคนเข้าร้าน หลังจากที่สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าว ซึ่ง นายกฯได้กล่าวว่าหากร้านใดปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ ต้องถูกสั่งปิดให้บริการ
ในส่วนของวัคซีน โดยในวันนี้กรมควบคุมโรค สถาบันวัคซีน ได้เข้าไปดูแลร่วมกับองค์การอาหารและยา (อย.) คาดว่าในระยะเวลา 3 เดือนจะได้รับ 2 ล้านโดส โดยทางการจะตัดสินว่าใครจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับวัคซีน ซึ่งพลเอก ประยุทธ์ ยืนยันว่า 26 ล้านโดสจะตามมาในภายหลัง นอกจากนี้ทางรัฐบาลจะเพิ่มวัคซีนอีก 35 ล้านโดส เพื่อให้คนไทยเกือบทั้งประเทศสามารถได้รับการฉีดวัคซีนได้
ซึ่งหากมีความจำเป็น พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่าจะมีการประเมินสถานการณ์ต่อไปว่าจำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนทั้งประเทศหรือไม่ ซึ่งหากจำเป็น ทางรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถผลิตวัคซีนเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
เพลงปฏิรูป – RAD (Rap Against Dictatorship) ถูกรัฐบาลไทยแบน บนยูทูบ ไม่สามารถดูได้ในประเทศไทย เป็นข่าวร้อนรับปีใหม่ของวงการเพลงและการเมือง เมื่อเข้าไปดูคลิปเพลง ปฏิรูป ของวงแรปประชาธิปไตย Rap Against Dictatorship ดูรัฐบาลแบน ไม่สามารถเข้าชมได้ในประเทศไทย
โดย youtube ให้เหตุผลว่า “เนื้อหานี้ไม่สามารถรับชมได้บนโดเมนของ ประเทศนี้ เนื่องจากมีการร้องเรียนทางกฎหมายจากรัฐบาล” ทั้งนี้ เพลงปฏิรูปถูกเผยแพร่เมื่อ เดือน พฤศจิากยน 2563 ท่ามกลางกระแสการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล และเรียกร้องการปฏิรูป โดยยอดวิวล่าสุดที่มีผู้ชมก่อนโดนบล็อกคือ 9.7 ล้านวิว
นายก รัฐมนตรี เปิดเผยว่า วัคซีน ล็อตแรก 2 ล้านโดส โดยจะเป็นสำหรับผู้ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วยก่อน ทั้งนี้มีความพร้อมเตรียมแผนจัดหาวัคซีนให้เพียงพอแก่ประชาชนทั้งประเทศ วันนี้ (5 ม.ค. 64) เวลา 12.00 น. ณ โถงตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุขรองรับ วัคซีน ที่จะเข้ามาในระยะแรก (ล็อตแรก) จำนวน 2 ล้านโดส แบ่งเป็น
ซึ่งทั้งหมดจะต้องผ่านมาตรฐานจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยได้ติดตามการฉีดวัคซีนในประเทศต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยปลอดภัยให้มากที่สุด นายกรัฐมนตรีเผยว่าได้มีการสั่งจองวัคซีนจากแอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) เพิ่มอีกจำนวน 35 ล้านโดส ซึ่งจะต้องฉีดคนละ 2 โดส ห่างกันระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยจัดลำดับการฉีดวัคซีนตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค กลุ่มที่สำคัญที่สุด คือ
กลุ่มผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสโควิด-19
ผู้ปฏิบัติงานการตรวจคัดกรองโรค ปฏิบัติงานด้านหน้า
บุคลากรทางการแพทย์
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มผู้มีอาการป่วยเรื้อรังซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงสูงเมื่อป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และอื่น ๆ ตามความจำเป็น
จับตา ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 64 เคาะ 30 หรือ 45 วัน
พลเอก ประยุทธ์ นำประชุม ศบค.ชุดใหญ่ หารือว่าจะมีการ ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 64 เป็นระยะเวลา 30 หรือ 45 วัน นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ตอบคำถามถึงประเด็น การขยายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) หลังจะครบกำหนดในวันที่ 15 มกราคม ที่จะถึงนี้
โดยนายแพทย์ทวีศิลป์กล่าวว่า ในการประชุมในเวลา 14.30 น. ของวันที่ 4 มกราคม จะมีการนำประชุม ศบค.ชุดใหญ่ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำประชุม ซึ่งในการประชุม ศบค. มีวาระนี้รวมอยู่ด้วย
นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่า โดยปกติแล้วจะมีการพิจารณาขยายต่อไปประมาณ 1 เดือน แต่ครั้งที่ผ่านมากำหนดรวม 45 วัน ซึ่งการขยายรอบใหม่อาจจะ 1 เดือน หรือ 45 วัน เพื่อให้ครบรอบเดือนใน ก.พ. ต้องรอมติจากที่ประชุมในช่วงบ่ายวันนี้ต่อไป สำหรับวัคซีนลอตต่อไป อาจมีการติดต่อหารือเพื่อแสวงหาวัคซีนจากประเทศอื่น ๆ เพื่อความรวดเร็วตามความต้องการ
นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจาก บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชานุญาตให้สามารถผลิตวัคซีนได้ ซึ่งคาดว่าจะผลิตได้ปีละ 200 ล้านโดส และน่าจะเพียงพอต่อการแจกจ่ายวัคซีนให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ
รวมทั้งได้มีการอนุญาตให้ภาคเอกชน อาทิ โรงพยาบาลเอกชน สามารถจัดซื้อ จัดหาวัคซีนเองได้ แต่จะต้องผ่านมาตรฐานการรองรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมการใช้ เพื่อความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นายกรัฐมนตรีย้ำสิ่งที่สำคัญขณะนี้ คือ การจำกัดการแพร่ระบาดให้มากที่สุด และการนำตัวผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาควบคุมรักษาพยาบาล ขณะที่วัคซีนใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่ยาและเวชภัณฑ์มีเพียงพอสำหรับการรักษาผู้ป่วยไว้อยู่แล้ว
แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี